โบราณสถาน
ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมซึ่งเป็นพระราชวังจันทน์มาก่อนในอดีต
ตัวศาลเป็นศาลาทรงไทยโบราณตรีมุขพระรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมีขนาดเท่าองค์จริง
ประทับนั่งพระหัตถ์ทรงพระสุวรรณภิงคารหลั่งน้ำในพระอิริยาบถประกาศอิสรภาพที่เมืองแครงสร้างโดยกรมศิลปากร
เสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2404 มีการจัดงานสักการะพระบรมรูปในวันที่
25 มกราคมของทุกปีเมื่อเดือนมีนาคม 2535 กรมศิลปากรได้ขุดค้นพบแนวเขตพระราชฐานพระราชวังจันทน์ซึ่งเป็นสถานที่พระราชสมภพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชซึ่งนับว่าเป็นการขุดค้นทางโบราณคดีและทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของจังหวัดในปัจจุบันกรมศิลปากรได้กลบหลุมขุดเพื่อเป็นการอนุรักษ์โบราณสถานไว้จนกว่าจะได้มีการขุดค้นอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง
ศาลสมเด็จพระนเรศวรและพระราชวังจันทน์
ศาลสมเด็จพระนเรศวรและพระราชวังจันทน์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านตรงข้ามวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารพระราชวังจันทน์เป็นสถานที่พระราชสมภพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชซึ่งทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่
พ.ศ. 2133 จนกระทั่งพระองค์เสด็จสวรรคตในปี
พ.ศ.2148 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นพระมหาวีรราชกษัตริย์แห่งชาติไทยเนื่องจากพระองค์ทรงกู้อิสรภาพของชาติไทยในปี
พ.ศ .2127 พ้นจากการตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นนักรบที่กล้าหาญและมีกลยุทธ์ที่ชาญฉลาด
เป็นที่ทราบกันดีว่ากองทัพของพระองค์มียุทธวิธีการจู่โจมอย่างรวดเร็วจนได้ชื่อ “เสือร้าย” และ “แมวที่คอยจ้องตะครุบเหยื่อ”
ปี พ.ศ. 2136 พระองค์ทรงทำสงครามยุทธหัตถีกับพระเจ้ามังกะยอชวาหรือ
พระมหาอุปราช ณตำบลหนองสาหร่าย
ปัจจุบันคือจังหวัดสุพรรณบุรีและทรงกอบกู้อิสรภาพให้กับกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ
ใกล้กับบริเวณพระราชวังจันทน์มีศาลสมเด็จพระนเรศวร ซึ่งมีรูปหล่อสมเด็จพระนเรศวร
ประทับบนพระแท่นขณะหลั่งน้ำทักษิโนทก และเป็นสัญลักษณ์ของการประกาศอิสรภาพให้กับอาณาจักรอยุธยาบริเวณเชิงบันไดศาลสมเด็จพระนเรศวรจะมีบรรดารูปปั้นไก่ชนมากมายที่ผู้สักการะนำมาถวายวางไว้เป็นที่ทราบกันว่าพระองค์ทรงโปรดการตีไก่เป็นอย่างยิ่งปัจจุบันนี้นักโบราณคดีได้เข้ามาบูรณะพระราชวังจันทน์อันเป็นสถานที่แสดงถึงประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของจังหวัดพิษณุโลกซึ่งเป็นเมืองราชธานีในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถนานถึง
25 ปีและเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระองค์จึงได้มีการนำพระนามของพระองค์มาตั้งเป็นชื่อถนนสายหลักของพิษณุโลก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น